ผู้เขียน หัวข้อ: การรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยไม่ใช้ยา  (อ่าน 50 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 429
    • ดูรายละเอียด
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยไม่ใช้ยา
« เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2024, 15:37:10 pm »
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยไม่ใช้ยา

ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงบางรายที่มีระดับไม่สูงมากนัก แพทย์อาจยังไม่ให้ยารักษาในทันทีแต่จะเป็นการเฝ้าสังเกตอาการก่อน และแนะนำวิธีการลดความดันโลหิตโดยไม่ใช้ยาให้ ซึ่งมีวิธีที่พิสูจน์แน่ชัดแล้วว่าได้ผลอยู่ 3 วิธีคือ

    วิธีจำกัดเกลือ
    วิธีลดน้ำหนัก
    วิธีออกกำลังกาย

และยังมีวิธีการอื่น ๆ ที่อาจลดความดันโลหิตได้บ้าง เช่นการลดความเครียด การทำสมาธิ การงดบุหรี่ เป็นต้น


วิธีจำกัดเกลือ

ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ควรรับประทานเกลือแกงได้ไม่เกินวันละประมาณ 5 กรัมต่อวัน ซึ่งจะทำได้โดยเลี่ยงการรับประทานอาหารที่เค็มจัดทุกชนิด และไม่เติมเกลือ หรือน้ำปลาในอาหารมากจนเป็นนิสัย


วิธีลดน้ำหนัก

วิธีนี้จะใช้เฉพาะในผู้ป่วยที่อ้วนเกินไปเท่านั้น และจะใช้ไม่ได้ผลในผู้ป่วยที่ผอมอยู่แล้ว การลดน้ำหนักกระทำได้โดยลดปริมาณอาหารประเภทไขมันและแป้งลงให้เหลือเท่าที่จำเป็น งดรับประทานอาหารว่างนอกเหนือจากอาหารมื้อประจำ ออกกำลังกายตามความเหมาะสม


วิธีออกกำลังกาย

ควรเลือกการออกกำลังกายที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ เช่น วิ่ง เดิน ถีบจักรยาน ว่ายน้ำ หรือเล่นเทนนิส เป็นต้น แต่ไม่ควรเลือกการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงมากๆ เช่น ยกน้ำหนัก เพาะกาย และควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมออย่างน้อยประมาณสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 15-20 นาทีเป็นอย่างน้อย
การใช้ยารักษาความดันโลหิตสูง

ต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งยารักษาเท่านั้น ไม่ควรซื้อยารับประทานเองเพราะยาในกลุ่มนี้อาจมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ร้ายแรง โดยคนไข้แต่ละคนจะเหมาะกับยาลดความดันที่ต่างกัน และอีกประการหนึ่ง การซื้อยารับประทานเองอาจรักษาความดันโลหิตสูงไม่ได้ผล หรือกลับทำให้ความดันโลหิตลดต่ำเกินไปได้

ในรายที่ความดันสูงไม่มาก ก่อนรักษาด้วยการใช้ยา แพทย์จะให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรมโดยการ ออกกำลังกาย และคุมอาหารก่อน หากไม่สำเร็จจึงค่อยเริ่มใช้ยา โดยยารักษาความดันโลหิตสูงในปัจจุบันมีหลายชนิดมาก แพทย์จะสั่งให้ผู้ป่วยรับประทาน โดยดูสภาพความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละคน และดูระดับความดันโลหิตก่อนรักษาเป็นเกณฑ์ ผู้ป่วยจะเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนักในการรักษา

ในปัจจุบันแพทย์สามารถควบคุมความดันโลหิตสูงให้ลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติได้ โดยถ้าความดันโลหิตผู้ป่วยไม่สูงมากอาจใช้เงินรักษาเพียงวันละไม่เกิน 1 บาท ไปจนถึง 4-5 บาท/วัน แล้วแต่ความเหมาะสม แต่ในผู้ป่วยรายที่ความดันโลหิตสูงมาก อาจต้องใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งผู้ป่วยอาจเสียค่ายาถึงวันละ 15-20 บาท/วัน แต่ก็จำเป็นมากที่ต้องรักษา เนื่องจากในผู้ป่วยประเภทนี้ถ้าไม่รีบรักษา ผลตามมาภายหลังจะรุนแรงและต้องหมดเปลืองค่ารักษาภายหลังมากกว่านี้อีกหลายเท่า

ระยะเวลาของการรักษา

    ผู้ป่วยที่ความดันโลหิตสูงมาก อาจต้องรักษาไปตลอดชีวิต
    ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงปานกลาง อาจหยุดยาได้หลังจากรักษาไประยะเวลาหนึ่ง เช่น 1-2 ปี แต่ยังต้องมาพบแพทย์เพื่อวัดความดันเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ และอาจต้องเริ่มรักษาอีกครั้งถ้าความดันโลหิตกลับขึ้นสูงอีก


วิธีการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

ในส่วนของการป้องกันเพื่อไม่ให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงสามารถทำได้โดยการหมั่นทานอาหารที่มีประโยชน์ และดูแลตัวเองดังต่อไปนี้

    ทานอาหารที่ให้คุณค่าสารอาหารที่ครบทั้ง 5 หมู่ทุกๆ วัน โดยทานอาหารแต่ละหมู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ทำให้สุขภาพร่างกายเกิดภาวะอ้วน หรือมีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์ และควรจัดการอาหารประเภทที่ให้ไขมัน แป้ง น้ำตาล และอาหารรสชาติเค็มทิ้งไป โดยเพิ่มปริมาณของผักและผลไม้ชนิดที่ไม่หวานมากแทน
    ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    ให้ร่างกายมีเวลาพักผ่อนที่เพียงพอ รวมทั้งการหมั่นทำให้จิตใจสงบและมีสติยิ่งขึ้น
    หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี เพราะการตรวจหาโรคความดันโลหิตสูงนั้น สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุ 18-20 ปี เมื่อมีโอกาสเสี่ยงกับโรคดังกล่าวจะได้สามารถรับมือได้ทัน โดยการขอคำแนะนำจากแพทย์


วิธีการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง

    ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือพยาบาลอย่างเคร่งครัดและถูกวิธี และควรทานยาให้ครบถ้วนตามที่แพทย์สั่ง
    งดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ไขมัน อาหารรสเค็ม หมั่นจำกัดและควบคุมปริมาณอาหาร เพื่อไม่ให้เกิดภาวะโรคอ้วนหรือร่างกายที่มีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์
    หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือการสูดดมกลิ่นควันบุหรี่
    งดดื่มสุรา รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
    ไม่ทำให้สุขภาพจิตต้องเผชิญกับความเครียด กดดัน หรือเป็นกังวลมากเกินไป เพราะจะทำให้อาการทรุดลงได้
    เข้าพบแพทย์ตามนัดเสมอ แต่หากมีอาการที่ผิดปกติเช่น ปวดศีรษะรุนแรง มีอาการเหนื่อยผิดปกติ เจ็บแน่นในบริเวณหน้าอก มีอาการใจสั่น เหงื่อออกเป็นจำนวนมาก แขนและขาเกิดอาการอ่อนแรง ปากเบี้ยว และคลื่นไส้อาเจียน ก็ควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุดภายใน 24 ชั่วโมง


การดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

    ให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ 
    ให้ยาลดความดันโลหิต และติดตามผลข้างเคียงของยา
    ให้ผู้ป่วยเปลี่ยนท่าการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างช้าๆ และหลีกเลี่ยงอากาศร้อน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากยาลดความดันโลหิต 
    สอนให้ผู้ป่วยวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยให้หมั่นวัดความดันโลหิตอยู่เสมอ
    เปลี่ยนสุขนิสัยในการรับประทานอาหาร หมั่นออกกำลังกาย กระตุ้นให้ผู้ป่วยลดน้ำหนักเพื่อป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว
    งดสูบบุหรี่ รวมทั้งดูแลให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวล และคลายเครียด
    คอยเน้นย้ำให้ผู้ป่วยทราบว่า ความดันเลือดสูงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมได้
    ติดตามผลการตรวจเลือดหา Electrolytes BUN Creatinine Lipid profile และการตรวจโปรตีนในปัสสาวะ
    ให้ความรู้ผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับยา การมาตรวจตามนัด การลดกิจกรรม การงดสูบบุหรี่ การลดการดื่มสุรา และการลดอาหารที่มีโซเดียม

ภาวะความดันโลหิตสูงมักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ นอนไม่เพียงพอ ชอบรับประทานของทอด ของหวาน หรือเครียดสะสมจากการทำงาน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงได้

อย่างไรก็ตามผู้ที่มีประวัติความดันโลหิตสูง รวมถึงบุคคลทั่วไป ควรตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อดูว่า มีสิ่งใดที่ต้องระวังหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นค่าความดันโลหิต ค่าระดับน้ำตาลในเลือด ค่าระดับไขมันในเลือด และอื่นๆ อีกมากมาย



การรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยไม่ใช้ยา อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/247

 

โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี Google ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google