จัดฟันบางนา: ข้อห้ามในการผ่าฟันคุด การผ่าฟันคุด หลายคนได้ยินคำนี้แล้วรู้สึกกลัวว่าจะ หากเราเข้ารับการผ่าฟันคุดจะรู้สึกเจ็บมั้ย ต้องเตรียมตัวอย่างไร และหลังจากเข้ารับการผ่าแล้วจะต้องดูแลรักษาอย่างไร บอกเลยว่า หากเรามีฟันคุด และมีอาการปวดร่วมด้วย ควรที่จะเข้ารับการผ่าอย่างยิ่ง เพราะถ้ายิ่งปล่อยไว้นาน จะยิ่งส่งผลต่อสุขภาพช่องปากและฟัน แต่หลายคนก็อาจจะมีข้อสงสัยว่า เราจะทราบได้อย่างไรว่าเรามีฟันคุด ด้วยเหตุผลที่ไม่รู้ จึงทำให้หลายคนละเลยในเรื่องของสุขภาพช่องปากและฟัน เพราะฉะนั้น เราควรที่จะหมั่นสังเกตตัวเอง จากการตรวจในช่องปากหลังจากการทำความสะอาดช่องปากและฟัน
ถ้าพบว่าฟันซี่ใดโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฟันซี่ใดหายไป ก็ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าน่าจะมีฟันคุด แต่เพื่อให้เกิดความแน่ใจก็ควรจะเข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเอ็กซเรย์ดูเพื่อความมั่นใจ ก็จะทำให้ทราบว่ามีฟันคุดฝังอยู่ในตำแหน่งไหนบ้าง โดยการเอกซเรย์จะทำให้เห็นฟันทั้งหมดในกระดูกขากรรไกรทั้งบนและล่าง รวมถึงพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในกระดูกขากรรไกรด้วย ดังนั้น การเข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟันประจำปี จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนไม่ควรละเลย เพื่อที่จะได้ทำความสะอาดช่องปากและได้ทราบถึงปัญหาช่องปากของเรา เพื่อที่จะได้ทำการแก้ไขต่อไป สำหรับเรื่องของการผ่าฟันคุดนั้นหลายคนอาจจะเข้ารับการผ่าได้ แต่การผ่าตัดฟันคุด ก็ยังมีข้อห้ามหรือข้อจำกัดบางอย่างที่อาจจะไม่สามารถเข้ารับการผ่าฟันคุดได้ ดังนั้น ก่อนเข้ารับการรักษาควรจะปรึกษาทันตแพทย์ก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าหลังจากการผ่าแล้วจะไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
สำหรับวันนี้ทางคลินิกเราจะมาพูดถึงข้อห้ามและข้อจำกัดในเรื่องของการผ่าฟันคุดว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากเช่นเดียวกัน การผ่าฟันคุดนั้น อาจจะแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ แต่การผ่าฟันคุด ก็ถือเป็นข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการป่วยร้ายแรงบางกลุ่ม เช่น ภาวะกระดูกตายจากการฉายแสงรักษาโรคมะเร็ง โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ โรคไตวายระยะสุดท้าย โรคตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาวระยะสุดท้าย มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณหลอดเลือดสมอง
เนื่องจากอาการป่วยเหล่านี้จะทำให้การผ่าตัดเป็นไปได้ยาก หรืออาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ รวมไปถึง สตรีมีครรภ์ที่อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์ อาจจะต้องหลีกเลี่ยงการผ่าฟันคุดไปก่อน จนกว่าจะคลอดบุตร แต่ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนทำการผ่าตัด อีกทั้ง ผู้เข้ารับการรักษาที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบโลหิต ก็ไม่ควรทำการผ่าตัดจนกว่าจะได้รับการรักษา ส่วนผู้ป่วยที่ใช้การรักษาด้วยสเตียรอยด์ หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องใช้การรักษาด้วยเคมีบำบัด หากต้องทำการผ่าตัดก็จะต้องได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษ หากผู้เข้ารับการรักษามีอาการติดเชื้อที่บริเวณฟันคุดต้องทำการรักษาอาการอักเสบและติดเชื้อบริเวณแผลเสียก่อน เพื่อให้การรักษาเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันความเสี่ยงต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้
เพราะฉะนั้น การปรึกษาทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้ารับการรักษาจึงมีความสำคัญ ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องแจ้งรายละเอียดแก่ทันตแพทย์เพื่อที่จะได้ทราบถึงวิธีการรักษา และวิธีการดูแลรักษา ภายหลังจากการผ่าตัด แต่ถ้าหากเราดูแลและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็อาจจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น แต่อาการผิดปกติที่เกิดภายหลังจากการผ่าตัดที่อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น มีไข้ กลืนอาหารหรือน้ำไม่ได้ หายใจลำบาก มีเลือดออกมากผิดปกติ มีหนองออกมาบริเวณเบ้าฟัน เกิดอาการชา หรือกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าอ่อนแรง ก็ควรที่จะรีบไปพบทันตแพทย์
เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนได้ แต่อย่างไรก็ตาม การผ่าฟันคุด อาจทำให้เกิดเลือดออกในปริมาณมาก และถ้าหากเลือดไม่หยุดไหลภายใน 24 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นอันตรายได้ ทั้งนี้ทางคลินิกเราอยากให้ทุกคนใส่ใจในเรื่องของสุขภาพช่องปาก เพราะฉะนั้น หากมีปัญหาสุขภาพฟันสามารถปรึกษาทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญได้ที่คลินิกได้ ทางเรายินดีให้คำปรึกษา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ถ้าหากต้องการเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าฟันคุด ทางเราก็มีโปรโมชั่นพิเศษ สำหรับผู้ที่สนใจ โดนเริ่มต้นที่ราคา 3,000 บาท จากราคาปกติ 5,000 บาท เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพช่องปากและฟันที่แข็งแรง
จัดฟันบางนา: ข้อห้ามในการผ่าฟันคุด อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.idolsmiledental.com/category/จัดฟันบางนา/