แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - jetsaridlawyer

หน้า: [1]
1
ถูกฟ้องคดี หนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อเงินสด หนี้เงินกู้

ควรรีบปรึกษาทนายเจตน์ ส่งคำฟ้องมาให้ช่วยดูโดยด่วน
1. เพื่อจะดูข้อต่อสู้เรื่องอายุความ หรือ
2. เพื่อจะดูข้อต่อสู้เรื่องไม่มีอำนาจฟ้อง หรือ
3. เพื่อขอเจรจาผ่อนชำระ หากไม่มีทางสู้ตามข้อ 1 และ 2


การไปศาลโดยไม่มีทนาย หรือ ไม่ปรึกษาทนาย เท่ากับเสียเปรียบเจ้าหนี้ไปครึ่งทางแล้ว



คดีแพ่ง ถึงแม้ว่าหนี้จะขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 ที่บัญญัติว่า “สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ” และ ป.พ.พ. มาตรา 193/10 “สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้”

การที่สิทธิเรียกร้อง หรือ หนี้ขาดอายุความ เป็นเพียงเหตุให้ลูกหนี้ปฎิเสธการชำระหนี้ได้เท่านั้น ไม่เป็นเหตุให้ทำให้หนี้นั้นระงับแต่อย่างใด เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิที่จะฟ้องร้องได้เสมอ โดยศาลไม่มีอำนาจที่จะพิพากษายกฟ้องได้

เมื่อถูกธนาคารหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ฟ้อง ลูกหนี้ต้องยกเหตุที่ขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ เพื่อปฎิเสธการชำระหนี้ตามฟ้อง ถ้าลูกหนี้ไม่ยกเหตุขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ไม่ว่าจะเพราะเหตุใดก็ตาม ศาลก็ไม่อาจยกเอาเหตุหนี้ขาดอายุความยกเป็นเหตุให้ยกฟ้องได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/29 ที่บัญญัติว่า “เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้”

ดังนั้น หนี้ที่ขาดอายุความ ไม่เป็นเหตุให้หนี้ระงับแต่อย่างใด แต่ถ้ายังเป็นหนี้กันอยู่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี แม้จะขาดอายุความหากยังไม่ชำระหนี้ให้แล้วเสร็จ ก็ยังคงเป็นหนี้กันตลอดไป

หนี้บัตรเครดิต มีอายุความ 2 ปี
หนี้เบิกเงินเกินบัญชี เป็นสินเชื่อประเภท (OD) กับ บัญชีเดินสะพัด มีอายุความ 10 ปี
หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล มีอายุความ 5 ปี
หนี้บัตรกดเงินสด / สินเชื่อเงินสด มีอายุความ 10 ปี (ไม่มีลักษณะเป็นการออกเงินทดรอง) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9043/2554 และ ฎีกา 2922/2561
หนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ มีอายุความ 2 ปี
      – ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ อายุความ 2 ปี
      – ค่าเสียหายจากการที่ผู้เช่าซื้อใช้ทรัพย์สิน อายุความ 6 เดือน
      – ค่าขาดราคา ค่าขาดประโยชน์ ค่าติดตาม เรียกให้ส่งคืนหรือใช้ราคาแทน อายุความ 10 ปี
      – การฟ้องติดตามเอารถนต์คืน ไม่มีอายุความ

หนี้ตามสัญญากู้ยืม ที่มีการผ่อนต้นคืนพร้อมดอกบี้ยเป็นงวด ๆ มีอายุความ 5 ปี
      1. ลูกหนี้ไม่มาชำระหนี้เลยนับแต่วันครบกำหนดชำระในงวดแรก การนับระยะเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือน ปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมเข้าด้วยกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ดังนั้น อายุความในการฟ้องคดีจะเริ่มนับถัดจากวันที่ผิดนัดชำระหนี้งวดแรก และจะสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด 5 ปี
      2. ลูกหนี้ที่มาชำระหนี้บางส่วน ไม่ว่าจะเป็นเงินต้น ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยผิดนัด หรือ เบี้ยปรับ (ถ้ามี) อายุความในการฟ้องคดี ย่อมสะดุดหยุดลง และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใดให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น คำว่า “ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น” หมายถึงให้เริ่มนับอายุความใหม่ในวันถัดจากวันที่ได้มีการกระทำอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 และมาตรา 193/15 โดยเริ่มนับอายุความใหม่ตามอายุความของมูลหนี้เดิม คือ 5 ปี นับแต่วันที่มาชำระหนี้บางส่วนและจะสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด 5 ปี

หนี้เงินกู้ (หนี้ตามสัญญากู้ยืมทั่วไปที่กำหนดชำระเงินต้นคืนทั้งหมดในครั้งเดียว) มีอายุความ 10 ปี ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระ มีอายุความ 5 ปี นับแต่วันที่อาจฟ้องเรียกเอาดอกเบี้ยได้ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และมาตรา 193/33 (1) หากกรณีที่ลูกหนี้มาชำระหนี้บางส่วน ไม่ว่าจะเป็นเงินต้น ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยผิดนัด หรือเบี้ยปรับ (ถ้ามี) อายุความในการฟ้องคดีย่อมสะดุดหยุดลง และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใดให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น คือ ในวันที่ลูกหนี้มาชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 และ มาตรา 193/15 โดยเริ่มนับอายุความใหม่ตามอายุความของมูลหนี้เดิม คือ 10 ปี นับแต่วันที่มาชำระหนี้บางส่วนและจะสิ้นสุด เมื่อครบกำหนด 10 ปี

การที่ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14

หนังสือรับสภาพหนี้ คือ หนังสือที่ลูกหนี้ทำให้แก่เจ้าหนี้ รับรองว่าต้นเป็นหนี้อยู่จริง ก่อนที่สิทธิเรียกร้องนั้นจะขาดอายุความ “การทำหนังสือรับสภาพหนี้” มีเหตุผลที่ทำขึ้น คือ เพื่อสงวนสิทธิ์ของฝ่ายเจ้าหนี้มิให้สิทธิเรียกร้องหนี้สินของตนต่อลูกหนี้นั้นต้องขาดอายุความ อีกเหตุผลที่ทำขึ้น คือ เพื่อสงวนสิทธิของฝ่ายเจ้าหนี้มิให้สิทธิเรียกร้องหนี้สินของตนต่อลูกหนี้นั้นต้องขาดอายุความ อีกเหตุผลหนึ่ง คือ ใช้เป็นหลักฐานที่ทำขึ้นในภายหลังเพื่อป้องกันปัญหาเพราะในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ทำหนังสือ หรือ สัญญาใดๆ ไว้เป็นหลักฐานเลย สัญญารับสภาพหนี้อาจทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้กับลูกหนี้ เคยเป็นหนี้กันมาก่อน แต่ไม่มีหลักฐานในการเป็นหนี้กัน ก็มาตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้กันว่า เคยเป็นหนี้กันจำนวนเท่าใด จะชดใช้กันอย่างไร คิดดอกเบี้ยกันหรือไม่ ซึ่งการทำสัญญารับสภาพหนี้นี้จะทำให้หนี้ที่ไม่เคยมีหลักฐานแต่เดิมกลายเป็นหนี้ที่มีหลักฐานฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ซึ่งเป็นประโยชน์กับเจ้าหนี้ อย่างไรก็ดี การรับสภาพหนี้จะต้องเกิดขึ้นภายในอายุความตามหนี้เดิมและเป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่วันที่ทำหนังสือรับสภาพหนี้ และเริ่มนับอายุความใหม่ตามมูลหนี้เดิม

ในการเริ่มนับอายุความนั้น ให้นับจากวันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย จนถึงวันที่ศาลประทับรับฟ้องคดี ฉนั้น แม้ว่าหนี้ขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้ยังฟ้องลูกหนี้ให้ชำระได้ตลอดเวลา

หนี้บัตรเครดิต
หนี้สินเชื่อเงินสด ให้การต่อสู้คดี
ติดต่อสำนักงานทนายความเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์



2

คดีแพ่ง ถึงแม้ว่าหนี้จะขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 ที่บัญญัติว่า “สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ” และ ป.พ.พ. มาตรา 193/10 “สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้”

การที่สิทธิเรียกร้อง หรือ หนี้ขาดอายุความ เป็นเพียงเหตุให้ลูกหนี้ปฎิเสธการชำระหนี้ได้เท่านั้น ไม่เป็นเหตุให้ทำให้หนี้นั้นระงับแต่อย่างใด เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิที่จะฟ้องร้องได้เสมอ โดยศาลไม่มีอำนาจที่จะพิพากษายกฟ้องได้

เมื่อถูกธนาคารหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ฟ้อง ลูกหนี้ต้องยกเหตุที่ขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ เพื่อปฎิเสธการชำระหนี้ตามฟ้อง ถ้าลูกหนี้ไม่ยกเหตุขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ไม่ว่าจะเพราะเหตุใดก็ตาม ศาลก็ไม่อาจยกเอาเหตุหนี้ขาดอายุความยกเป็นเหตุให้ยกฟ้องได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/29 ที่บัญญัติว่า “เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้”

ดังนั้น หนี้ที่ขาดอายุความ ไม่เป็นเหตุให้หนี้ระงับแต่อย่างใด แต่ถ้ายังเป็นหนี้กันอยู่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี แม้จะขาดอายุความหากยังไม่ชำระหนี้ให้แล้วเสร็จ ก็ยังคงเป็นหนี้กันตลอดไป

หนี้บัตรเครดิต มีอายุความ 2 ปี
หนี้เบิกเงินเกินบัญชี เป็นสินเชื่อประเภท (OD) กับ บัญชีเดินสะพัด มีอายุความ 10 ปี
หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล มีอายุความ 5 ปี
หนี้บัตรกดเงินสด / สินเชื่อเงินสด มีอายุความ 10 ปี (ไม่มีลักษณะเป็นการออกเงินทดรอง) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9043/2554 และ ฎีกา 2922/2561
หนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ มีอายุความ 2 ปี
      – ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ อายุความ 2 ปี
      – ค่าเสียหายจากการที่ผู้เช่าซื้อใช้ทรัพย์สิน อายุความ 6 เดือน
      – ค่าขาดราคา ค่าขาดประโยชน์ ค่าติดตาม เรียกให้ส่งคืนหรือใช้ราคาแทน อายุความ 10 ปี
      – การฟ้องติดตามเอารถนต์คืน ไม่มีอายุความ

หนี้ตามสัญญากู้ยืม ที่มีการผ่อนต้นคืนพร้อมดอกบี้ยเป็นงวด ๆ มีอายุความ 5 ปี
      1. ลูกหนี้ไม่มาชำระหนี้เลยนับแต่วันครบกำหนดชำระในงวดแรก การนับระยะเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือน ปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมเข้าด้วยกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ดังนั้น อายุความในการฟ้องคดีจะเริ่มนับถัดจากวันที่ผิดนัดชำระหนี้งวดแรก และจะสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด 5 ปี
      2. ลูกหนี้ที่มาชำระหนี้บางส่วน ไม่ว่าจะเป็นเงินต้น ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยผิดนัด หรือ เบี้ยปรับ (ถ้ามี) อายุความในการฟ้องคดี ย่อมสะดุดหยุดลง และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใดให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น คำว่า “ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น” หมายถึงให้เริ่มนับอายุความใหม่ในวันถัดจากวันที่ได้มีการกระทำอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 และมาตรา 193/15 โดยเริ่มนับอายุความใหม่ตามอายุความของมูลหนี้เดิม คือ 5 ปี นับแต่วันที่มาชำระหนี้บางส่วนและจะสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด 5 ปี

หนี้เงินกู้ (หนี้ตามสัญญากู้ยืมทั่วไปที่กำหนดชำระเงินต้นคืนทั้งหมดในครั้งเดียว) มีอายุความ 10 ปี ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระ มีอายุความ 5 ปี นับแต่วันที่อาจฟ้องเรียกเอาดอกเบี้ยได้ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และมาตรา 193/33 (1) หากกรณีที่ลูกหนี้มาชำระหนี้บางส่วน ไม่ว่าจะเป็นเงินต้น ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยผิดนัด หรือเบี้ยปรับ (ถ้ามี) อายุความในการฟ้องคดีย่อมสะดุดหยุดลง และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใดให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น คือ ในวันที่ลูกหนี้มาชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 และ มาตรา 193/15 โดยเริ่มนับอายุความใหม่ตามอายุความของมูลหนี้เดิม คือ 10 ปี นับแต่วันที่มาชำระหนี้บางส่วนและจะสิ้นสุด เมื่อครบกำหนด 10 ปี

การที่ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14

หนังสือรับสภาพหนี้ คือ หนังสือที่ลูกหนี้ทำให้แก่เจ้าหนี้ รับรองว่าต้นเป็นหนี้อยู่จริง ก่อนที่สิทธิเรียกร้องนั้นจะขาดอายุความ “การทำหนังสือรับสภาพหนี้” มีเหตุผลที่ทำขึ้น คือ เพื่อสงวนสิทธิ์ของฝ่ายเจ้าหนี้มิให้สิทธิเรียกร้องหนี้สินของตนต่อลูกหนี้นั้นต้องขาดอายุความ อีกเหตุผลที่ทำขึ้น คือ เพื่อสงวนสิทธิของฝ่ายเจ้าหนี้มิให้สิทธิเรียกร้องหนี้สินของตนต่อลูกหนี้นั้นต้องขาดอายุความ อีกเหตุผลหนึ่ง คือ ใช้เป็นหลักฐานที่ทำขึ้นในภายหลังเพื่อป้องกันปัญหาเพราะในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ทำหนังสือ หรือ สัญญาใดๆ ไว้เป็นหลักฐานเลย สัญญารับสภาพหนี้อาจทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้กับลูกหนี้ เคยเป็นหนี้กันมาก่อน แต่ไม่มีหลักฐานในการเป็นหนี้กัน ก็มาตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้กันว่า เคยเป็นหนี้กันจำนวนเท่าใด จะชดใช้กันอย่างไร คิดดอกเบี้ยกันหรือไม่ ซึ่งการทำสัญญารับสภาพหนี้นี้จะทำให้หนี้ที่ไม่เคยมีหลักฐานแต่เดิมกลายเป็นหนี้ที่มีหลักฐานฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ซึ่งเป็นประโยชน์กับเจ้าหนี้ อย่างไรก็ดี การรับสภาพหนี้จะต้องเกิดขึ้นภายในอายุความตามหนี้เดิมและเป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่วันที่ทำหนังสือรับสภาพหนี้ และเริ่มนับอายุความใหม่ตามมูลหนี้เดิม

ในการเริ่มนับอายุความนั้น ให้นับจากวันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย จนถึงวันที่ศาลประทับรับฟ้องคดี ฉนั้น แม้ว่าหนี้ขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้ยังฟ้องลูกหนี้ให้ชำระได้ตลอดเวลา

กู้ยืมเงินแล้วไม่คืน
ฟ้องคดีกู้ยืมเงิน ให้การต่อสู้คดี
ติดต่อสำนักงานทนายความเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์



3

กู้ยืมเงินแล้วไม่คืน เป็นการผิดสัญญาในทางแพ่ง ผู้ให้กู้ยืมสามารถฟ้องเป็นคดีต่อศาลเพื่อเรียกเงินคืนจากลูกหนี้เงินกู้ได้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
          ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว”

หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน (เกิน 2,000 บาทขึ้นไป) ที่จะสามารถฟ้องศาลได้ แบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้

– กรณีมีสัญญาการยืมเงิน : ผู้ให้กู้ต้องมีหนังสือสัญญากู้ยืมที่ระบุสัญญาได้ทำขึ้นที่ไหน, วัน/เดือน/ปี ในการทำสัญญา, รายละเอียดของผู้ให้กู้และผู้กู้ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ รวมทั้งจำนวนเงินที่ยืม กำหนดชำระคืน ดอกเบี้ยต่อเดือน/ต่อปี (ถ้ามี) และลงลายมือชื่อของผู้กู้ หรือ การทำหนังสือหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ว่าจะทำก่อน ขณะหรือหลังจากการกู้ยืมเงินกัน ก็สามารถใช้ดำเนินการฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย เช่นกัน

– กรณีไม่มีสัญญาการยืมเงิน :  ผู้ให้กู้สามารถใช้หลักฐานการ  Chat  ที่มีหลักฐานเป็นข้อความการสนทนาขอกู้ยืมเงิน  ผ่านผู้ให้บริการสนทนาที่น่าเชื่อถือ เช่น Facebook , LINE  หรือ สื่อโซเชียลอื่น และต้องมีข้อความที่ระบุว่า ใครเป็นผู้ขอยืม, จำนวนเงินที่ยืม, จะใช้คืนเมื่อไหร่, และหลักฐาน Slip การโอนเงิน ระบุวัน-เวลา ที่เราได้โอนเงินให้ผู้กู้ยืมครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว และนอกจากนี้ต้องมี ชื่อบัญชีผู้ใช้, ชื่อจริง, บัญชีธนาคารของผู้กู้ยืม, ต้องเก็บหลักฐานไว้ทันทีที่มีการกู้ยืมเงิน รักษาข้อมูลให้อยู่ในสภาพเดิม ไม่มีการตัดต่อแก้ไขวันที่ หรือเวลารับ-ส่งข้อความกัน เจ้าหนี้สามารถใช้การสนทนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน หรือ ฟ้องคดีได้ โดยให้ถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นหนังสือและหลักฐานการกู้ยืมเงิน

กู้ยืมเงินแล้วไม่คืน มีอายุความกี่ปี ?
– การฟ้องศาลเพื่อเรียกเงินคืนตามสัญญากู้ยืมจะมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่ถึงกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืน
– แต่หากในสัญญากู้ยืมมีการตกลงกำหนดชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยแบบเป็นงวด ๆ กรณีนี้จะมีอายุความเพียง 5 ปี

ฟ้องคดีกู้ยืมเงิน ให้การต่อสู้คดี
ติดต่อสำนักงานทนายความเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์



4

การให้กู้ยืมเงิน ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือ สัญญากู้ยืมเงิน ที่ลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องกันไม่ได้

แต่ถ้ามีการสนทนาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ผ่านสื่อออนไลน์ เช่น Chat สนทนายืมเงินทาง Facebook หรือ LINE ที่มีข้อความครบถ้วนว่า ใครเป็นผู้ขอยืม, จำนวนเงินที่ยืม, จะใช้คืนเมื่อไหร่, และหลักฐานที่แนบ Slip การโอนเงิน ระบุวัน-เวลา ที่เราได้โอนเงินให้ผู้กู้ยืมครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ก็เพียงพอแล้วที่จะเป็นหลักฐานการกู้ยืมได้ โดยกฎหมายให้ถือเอาชื่อ Facebook เป็นการลงลายมือชื่อของผู้ยืมด้วย โดยนำพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาใช้บังคับประกอบ

มาตรา 4  ในพระราชบัญญัตินี้
“ธุรกรรม” หมายความว่า การกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ หรือในการดำเนินงานของรัฐตามที่กำหนดในหมวด 4
“ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
“ข้อความ” หมายความว่า เรื่องราว หรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ
“ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร
“ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
“ระบบข้อมูล” หมายความว่า กระบวนการประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับสร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

มาตรา 7 ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

มาตรา 8 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้การใดต้องทํา เป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทําข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนํากลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทําเป็นหนังสือมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว

ผู้ให้กู้ยืมต้องเตรียมหลักฐาน 3 ประการ ดังนี้
1. หลักฐานข้อความสนทนาในการขอกู้ยืมเงินผ่าน Chat
2. หลักฐานบัญชีผู้ใช้ในสื่อสังคมออนไลน์ของผู้กู้ยืมเงิน
3. หลักฐานการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือแอปพลิเคชันของธนาคาร (หากชื่อบัญชีผู้ใช้ในสื่อสังคมออนไลน์กับชื่อเจ้าของบัญชีธนาคารไม่ตรงกัน ควรให้ผู้ขอกู้ยืมเงินยืนยันหรือหาหลักฐานเชื่อมโยง เพื่ออธิบายว่าบัญชีธนาคารเป็นของใครและเกี่ยวข้องอย่างไรกับผู้ขอกู้ยืมเงิน)

มีอายุความกี่ปี ?
– การฟ้องศาลเพื่อเรียกเงินคืน จะมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่ถึงกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืน

ฟ้องคดีกู้ยืมเงิน ให้การต่อสู้คดี
ติดต่อสำนักงานทนายความเจตน์สฤษฎิ์ ไชยงค์



หน้า: [1]
โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี Google ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google