ผู้เขียน หัวข้อ: 5 ทำ 5 ไม่ ห่างไกลโรคมะเร็ง  (อ่าน 4 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 327
    • ดูรายละเอียด
5 ทำ 5 ไม่ ห่างไกลโรคมะเร็ง
« เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2024, 21:36:57 pm »
5 ทำ 5 ไม่ ห่างไกลมะเร็ง
  5 ทำ

    ออกกำลังกายเป็นนิจ
    ทำจิตแจ่มใส
    กินผักผลไม้
    อาหารหลากหลาย
    ตรวจร่างกายเป็นประจำ

 
5 ไม่

    ไม่สูบบุหรี่
    ไม่มีเซ็กส์มั่ว
    ไม่มัวเมาสุรา
    ไม่ตากแดดจ้า
    ไม่กินปลาน้ำจืดดิบ

 
5 ทำ

1. ออกกำลังกายเป็นนิจ

โรคมะเร็งมีความสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย มีรายงานการวิจัยพบว่า การออกกำลังกายช่วยลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจได้  ความอ้วน ความเครียด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง การออกกำลังกายที่เหมาะสมเพียงพอช่วยคลายเครียดและลดการสะสมแคลอรี่ (ไขมัน) ในร่างกายได้
ข้อแนะนำ :

    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที และเป็นแบบต่อเนื่อง
    การควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมตามดัชนีมวลกาย

Body Mass Index [BMI] = น้ำหนัก (กิโลกรัม)

                                     (ดัชนีมวลกาย) ส่วนสูง (เมตร)2

น้ำหนักตัวพอดี                    BMI 18.5 – 25

น้ำหนักมากเกินไป                BMI 25 – 30

โรคอ้วน                             BMI มากกว่า 30

 
2. ทำจิตแจ่มใส

    ความเครียดเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายต่ำลงและส่งเสริมการเกิดโรคมะเร็งได้
    การทำจิตใจให้แจ่มใสช่วยคลายเครียดและส่งเสริมภูมิต้านทานทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้มีภูมิต้านทานโรคมะเร็งได้ด้วย
    ร่างกายที่แข็งแรงต้องมาจากจิตใจที่เข้มแข็ง

ข้อแนะนำ :

    จิตแจ่มใสทำได้หลายวิธีด้วยกิจกรรมสันทนาการทุกรูปแบบ การทำบุญตามวิธีแห่งศาสนา ทัศนศึกษา รวมถึงการออกกำลังกายด้วย
    เดินทางสายกลางและยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

 
3. กินผักผลไม้

ในผักผลไม้นอกจากจะมีสารต้านมะเร็ง ได้แก่ แอนติออกซิแดนซ์ (Antioxidant) ได้แก่ วิตามินเอ ซี อี สารเบตาแคโรทีน สารไลโคปีน สารไอโซฟลาโวนอยด์ หรือเรียกรวม ๆ ว่า Dietary Cancer Chemo Preventive Agents และยังมีเส้นใยอาหาร (Fiber) ที่ทำหน้าที่คล้ายแปรงไปกระตุ้นผนังลำไส้ให้สร้างเมือก (Mucous) มากขึ้น ทำให้เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับเยื่อบุผิวลำไส้ใหญ่และลดการเกิดโรคมะเร็งได้

การวิจัยผักและผลไม้พบสารต้านมะเร็งและกระบวนการต้านมะเร็งได้ถึงระดับโมเลกุลหลายชนิด ได้แก่ ขิง ชาเขียว องุ่นแดง น้ำผึ้ง กระเทียม มะเขือเทศ แครอท กะหล่ำปลี และบรอกโคลี เป็นต้น
ข้อแนะนำ :

    กินผักผลไม้ให้ได้ครึ่งหนึ่งของปริมาณอาหารในแต่ละมื้อหรือประมาณ 500 กรัม / วัน (ผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง)

 
4. อาหารหลากหลาย

    ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากกว่า 1 ใน 3 มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงทางด้านอาหาร โดยเฉพาะการบริโภคอาหารที่มีพลังงานสูงและไขมันสูง
    อาหารหมักดองเค็มและเนื้อสัตว์ตากแห้งที่ใส่ดินประสิว โพแทสเซียมไนเตรท และสารไนไตรท์ สามารถเปลี่ยนเป็นสารไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
    แอฟลาทอกซิน (Aflatoxin) จากอาหารที่มีเชื้อรา เช่น ถั่วลิสงคั่ว  พริกแห้ง ทำให้เกิดมะเร็งตับได้
    เนื้อสัตว์ปิ้ง ย่าง ทอด รมควัน มีสารก่อมะเร็ง

ข้อแนะนำ :

    กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่ซ้ำซาก จำเจ และใหม่สด สะอาด ปราศจากเชื้อรา
    ลดอาหารที่ไขมันสูง อาหารปิ้ง ย่าง ทอดที่ไหม้เกรียม เนื้อสัตว์สีแดง และอาหารหมักดอง
    หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารดินประสิวและไนโตรซามีน

 
5. ตรวจร่างกายเป็นประจำ

การตรวจร่างกาย ทำให้รู้ว่าท่านอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดใดเพื่อเฝ้าระวังได้อย่างถูกต้อง หากพบว่าเป็นมะเร็งแล้วตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นสามารถรักษาได้ เพราะมะเร็งยังไม่ลุกลาม แต่ถ้าหลาย ๆ ปีไปตรวจครั้งหนึ่งอาจพบมะเร็งระยะลุกลาม ซึ่งอาจจะรักษายากหรือรักษาไม่ได้

การป้องกันมะเร็งไม่สามารถได้ผล 100% ดังนั้นการตรวจค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรกจึงมีความสำคัญ
ข้อแนะนำ :

    หมั่นตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย ตามสัญญาณอันตราย 7 ประการของโรคมะเร็ง
    อายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจร่างกายประจำปีเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง

 
5 ไม่

1. ไม่สูบบุหรี่

    บุหรี่เป็นสาเหตุของมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งไต และมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโรคอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง
    ควันบุหรี่ มีสารน้ำมันทาร์และสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด ซึ่งในจำนวนนี้มากกว่า 60 ชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง
    80% ของโรคมะเร็งปอดเกิดจากการสูบบุหรี่ ปัจจุบันมีผู้ป่วยมะเร็งปอดรายใหม่มากกว่า 10,000 รายต่อปี ถ้าไม่สูบบุหรี่จะสามารถลดจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปอดได้ประมาณ 8,000 รายต่อปี
    สำหรับผู้ที่สูบบหรี่ ถ้าหยุดสูบบุหรี่สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปอดได้ 60 – 70%

ข้อแนะนำ :

    งดสูบบุหรี่ทุกรูปแบบ
    หลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่น

 
2. ไม่มีเซ็กส์มั่ว

สตรีที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยและมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายหลายคน พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะมีความเสี่ยงกับการติดเชื้อ HPV (Human Papilloma Virus) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อมะเร็งปากมดลูก
ข้อแนะนำ :

    ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
    มีเพศสัมพันธ์เมื่อถึงวัยอันควร (20 ปี)
    หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ใช้ถุงยางอนามัย

 
3. ไม่มัวเมาสุรา

    คนที่ดื่มสุราจะมีความเสี่ยงกับมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งหลอดอาหาร
    ผู้ที่ดื่มสุรามากกว่า 60 กรัมของเอทิลแอลกฮอล์ต่อวัน (3 แก้ว) จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเป็น 9 เท่าของผู้ที่ไม่ดื่ม แต่ถ้าดื่มสุรามากกว่า 60 กรัมของเอทิลแอลกฮอล์ และเป็นผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่า 20 มวนต่อวันด้วย จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเป็น 50 เท่า

ข้อแนะนำ :

    ไม่ดื่มสุรา แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ชายไม่ควรดื่มเกิน 2 แก้วต่อวัน ผู้หญิงไม่ควรดื่มเกิน 1 แก้วต่อวัน
    เบียร์ มีแอลกอฮอล์ 7% = 288 ml ไม่ควรดื่มเกิน 1 ขวดเล็ก
    ไวน์ มีแอลกอฮอล์ 13% = 153 ml ไม่ควรดื่มเกิน 1 แก้ว
    สุรา มีแอลกอฮอล์ 37.5% = 53 ml ไม่ควรดื่มเกิน 1 แก้ว

  4. ไม่ตากแดดจ้า

    แสงแดดมีรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง
    UV มี 3 ชนิดคือ UVA UVB UVC แต่ UVB เป็นรังสีที่มีผลต่อการเกิดมะเร็งมากที่สุด
    UV ทำให้เกิดรอยเหี่ยวย่น ผิวหนังเปลี่ยนแปลง นอกจากมะเร็งแล้ว ยังทำให้เกิดต้อกระจกด้วย
    การตากแดดในปริมาณเล็กน้อยมีความจำเป็นต่อการผลิตวิตามิน D แต่ถ้าตากแดดมากจะเป็นอันตราย

ข้อแนะนำ :

    หลีกเลี่ยงแสงแดดช่วงที่มีอัลตราไวโอเลตสูง
    ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF (Sun Protection Factor) มากกว่าหรือเท่ากับ 15 ขึ้นไป
    ควรใช้อุปกรณ์และเสื้อผ้าป้องกันแสงแดด เช่น เสื้อแขนยาว หมวก ร่ม ให้เป็นนิสัย
    ตรวจเช็กผิวหนังตัวเองเป็นประจำ

 
5. ไม่กินปลาน้ำจืดดิบ

การกินปลาน้ำจืดที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิใบไม้ตับอยู่ในเนื้อปลาที่มีเกล็ดตระกูลปลาตะเพียน โดยบริโภคดิบ ๆ หรือปรุงแบบสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ก้อยปลา ลาบปลา พยาธิตัวอ่อนจะเข้าเจริญเติบโตเป็นตัวแก่อาศัยอยู่ในท่อน้ำดีตับ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผนังท่อน้ำดีและท่อน้ำดีอุดตัน มีการอักเสบเรื้อรัง เนื้อตับตาย ทำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดีในตับและพบมากในภาคอีสาน

ปลาน้ำจืดที่มีเกล็ดตระกูลปลาตะเพียน ได้แก่ ปลาตะเพียน ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาขาว ปลาเกล็ดขาว ปลาแม่สะแด้ง ฯลฯ
ข้อแนะนำ :

    หลีกเลี่ยงการกินปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด ตระกูลปลาตะเพียนแบบดิบ ๆ
    ตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิทุกปี


5 ทำ 5 ไม่ ห่างไกลโรคมะเร็ง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/109

 

Tage : ประกาศขายของฟรี ติด google , ลงประกาศฟรีไม่ต้องสมัคร , ประกาศฟรีไม่มี หมดอายุ , เว็บประกาศฟรีติดอันดับ , ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ , ฝากร้านฟรีโพสฟรี , รวมเว็บลงประกาศฟรี , ลงประกาศฟรี 100 , รวมเว็บลงประกาศฟรี ติด google , ลงประกาศฟรี ติดอันดับ google , ลงประกาศฟรีออนไลน์ , เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ , ลงประกาศฟรี pantip , ลงประกาศฟรี , โพสฟรี โปรโมทฟรี โฆษณาสินค้าฟรี ลงประกาศฟรี โพสฟรี โพสประกาศฟรี ลงประกาศขายฟรี ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โฆษณาสินค้าฟรี , เว็บลงประกาศขายฟรี ลงประกาศฟรี Post ฟรี ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด เว็บลงประกาศขายฟรี โพสประกาศฟรี ติด google ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายรถฟรี โพสฟรี โฆษณาสินค้าฟรี ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซต์ฟรี ลงโฆษณาฟรี google ลงประกาศสินค้าฟรี ลงโฆษณาฟรี เว็บลงประกาศขายฟรี ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซต์ฟรี ติด google ฝากร้านฟรี ฝากขายฟรี ลงประกาศสินค้าฟรี ลงโฆษณาฟรี ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google